การศึกษา … ผู้ป่วยต้องอ่าน ผู้ไม่ป่วยก็ต้องอ่าน!
ตั้งใจจะ เม้นท์! เรื่อง การศึกษา ของ คุณนรินทร์ แต่(เม้นท์)ยาวไปหน่อย … เอาเป็นว่า c’ment ข้าม blog กันไปเลย
แนวคิด ที่จะให้รัฐฯ “สนับสนุนนักเรียน” (สมมุติว่า 80%) มากกว่า “สนับสนุนโรงเรียน” (สมมุติว่า 20%) ก็น่าลองดูไม่น้อย เพราะสูตรเดิม (20/80) ไม่ได้ผล ไม่เชื่อว่าจะได้ผล และ ไม่อยากจะ “รอผล” อีกต่อไป
นั่น … พูดถึง process เพียงส่วนเดียว … แต่ถ้ามองที่ output ด้วย ก็เห็นตาม ท่านพุทธทาส ที่เทศนาเรื่อง การศึกษาหางด้วน เอาไว้ … ท่านว่า การศึกษา ไม่ว่าจะอย่างไร ก็เน้นไปใน (๑) ความรู้ทั่วไป กับ (๒) ความรู้เทคนิค(อาชีพ) … ทั้งสองด้าน เน้นตั้งคำถามว่า ทำอย่างไร? มากกว่า ทำทำไม?
ซึ่งก็ดี (และควรเรียน) แต่ไม่พอ ไม่ครบด้าน … การศึกษาที่ไม่ให้ความรู้ เรื่อง “การเป็นมนุษย์ที่ถูกต้อง” จะเรียนวิชาอะไร ก็ไม่สามารถจัดการกับความเห็นแก่ตัว(ตน) และ ไม่เห็น(หัว)คนอื่นได้ – เบียดเบียนกันเรื่อยไป
น้องคนหนึ่ง พูดเข้าท่า ทำนองว่า คนเรามีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิต 3 ครั้ง … ครั้งแรก ประสบความสำเร็จในการเรียน ครั้งที่สองในการทำงาน และครั้งสุดท้าย คือ การประสบความสำเร็จในชีวิต
เอาเป็นว่า จะเรียนสูงแค่ไหน หรือ จะมีตำแหน่งใหญ่โตเพียงใด ไม่ใช่หลักประกันว่า เราจะประสบความสำเร็จในชีวิต … การศึกษาเรื่องชีวิต (การเป็นมนุษย์ที่ถูกต้อง) จึงเป็นเรื่องจำเป็น อาจจะจำเป็นที่สุด ก็ได้
ด้วยความรู้อันน้อยนิด (จริงๆ นะ ไม่ได้พูดแดก) … เราไม่มีปัญหากับ ทุนนิยม สังคมนิยม หรือ ระบบ ระบอบ อะไรทั้งนั้น แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว และจากการได้พูดคุยกับใครๆ ตามโอกาสต่างๆ … อยากจะสะท้อนเรื่องการศึกษา(ไร้หาง) สัก ๒–๓ เรื่อง
(๑) คนยุคนี้ ไม่น้อย ยอมให้ “ความร่ำรวย” เป็น เครื่องชี้วัดการประสบความสำเร็จในชีวิต
(๒) … ก่อนพูดเรื่องนี้ ขอออกตัวดังๆ ว่า เราไม่สนใจว่าใครจะถูกหรือผิด ถูกศาลตัดสินหรือยัง (อย่าลืมว่า เรากำลังพูดเรื่องการศึกษา) ดังนั้น ประเด็นที่อยากจะชี้ให้เห็น ผลกระทบจากการศึกษาไม่รอบด้าน อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ
(๒ …) คนยุคนี้ ไม่น้อย ยอมให้ “โกงได้ กินได้ ถ้าแบ่งให้คนอื่นได้…บ้าง”
(๓) คนยุคนี้ ไม่น้อย ยอมที่จะ “แตกหัก แตกแยก แต่ไม่ยอม(รับ)ความแตกต่าง”
นี่แหละ ผลของการศึกษาแบบหมาหางด้วน ... เพราะงั้น ไม่ว่าจะ โรงเรียนวัดไทย วัดฝรั่ง หรือ Harvard … มันก็ครือๆ กัน
khun_aut
ข้อการยอมรับความแตกต่าง เห็นด้วยอย่างมากครับ เพราะว่าเจอประจำครับ
สนับสนุนนักเรียนนอกจากเงินทุนแล้ว
น่าจะสนับสนุนอะไรอีกแบบว่า
แถวบ้านผม เห็นวัยรุ่นไม่ยอมไปเรียน จับกลุ่มเล่นกันไปวัน ๆ
ทำไมไม่ไปเรียนก็ไม่รู้ จนหรือ-ก็ไม่
ไม่อยากเรียนละมากกว่า หรือเปล่า?…
เฮ้อ…เห็นใจและหนักใจ (ส่วนตัว) ครับ
แบบว่าสอนเรื่องชีวิตนี่ ผมว่าต้องรณรงค์ให้เด็กไทยทำงานพิเศษเลี้ยงดูเองตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนครับ เด็กที่ต้องรับผิดชอบตัวเองจะเข้าใจชีวิตได้ดีกว่าเด็กที่แบมือขอเงินพ่อแม่และจะไม่มีเวลาไปตีกัน หรือบิดโมไซโชสาว เหมือนอย่างที่เป็นอยู่
คุณนรินทร์เปิดประเด็นน่าสนใจทั้งนั้นเลย … ทำไมไม่ส่งเสริมเด็กไทยให้ทำงาน part-time?
จริงด้วย … ทำไม?
: )
เอ๊?! เป็นเรื่องของศาสนามั๊ย? เช่น ทุกวันนี้เรานับถือศาสนา(โดยเฉพาะพุทธฯ) ที่ใจ ..ถือเป็นสิ่งสูงส่ง เหมือนเทพเจ้า กราบได้ ไหว้ได้ ให้ความเคารพจัง แต่นำมาปฏิบัติน้อยเกินไป น้อยเกินไปจริงๆ บ้างยังตอบไม่ได้เลยว่าหัวใจของศาสนา(?)คืออะไร
นับถือตาม..พ่อแม่ และพ่อแม่ ก็นับถือตามพ่อแม่ของพ่อแม่ อีกที
ปล. เกี่ยวกันมั๊ยเนี่ยยย??!!
น่าสนใจดีคะ แล้วการศึกษาที่สอนการเป็นมนุษย์ที่ถูกต้องเนียะ ครูคนแรกคือใคร? ถ้าไม่ใช่พ่อแม่ แต่เท่าที่เห็นพ่อแม่หลายๆคนมักจะสอนลูกด้วยคำพูดเหล่านี้เสมอ”ตั้งใจเรียนนะ จะได้เรียนเก่งๆ จบออกไปแล้วจะได้มีเงินเดือนสูงๆ มีบ้าน มีรถ มีหน้ามีตาสู้คนอื่นเขาได้”กลายเป็นคำสอนที่ไม่เคย คิดที่จะให้ลูกหลานตอบแทนและคืนอะไรแก่สังคมหรือช่วยเหลือแบ่งปันให้โอกาสเพื่อนร่วมโลกเลยสักนิดไม่เชื่อลองไปถามเด็กๆดูได้ ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร เพราะอะไร เมื่อไม่นานมานี้พึ่งเห็นเค้าถามเด็กอนุบาลด้วยคำถามแบบนี้ แล้วเด็กตอบมาว่า อยากเรียนเก่งๆจะได้มีเงินเดือนสูงๆ ได้ซื้อบ้านซื้อรถให้คุณแม่แล้วก็ซื้อให้หนูด้วยคันหนึ่ง.!(จากคำตอบนี้ทำให้เราวิเคราะห์อะไรได้หลายๆอย่างเลยจริงไหม)พ่อแม่ได้ฟังคงปลื้มใจ ฟังดูละม้ายคล้ายลูกกตัญญู? แทบแยกกันไม่ออก :P
ทำไมเด็กไทย ไม่ทำงานพิเศษ ผมว่าเรื่องครอบครัวก็มีส่วนครับ(ไม่ได้โทษว่าใครผิดนะครับ)
ตั้งใจเรียนให้ได้เกรดดีๆก็พอแล้ว ไม่ต้องไปทำหรอกงาน เดี๋ยวไม่มีเวลาอ่านหนังสือ เอาเวลาไปเรยีนพิเศษดีกว่า
แม่ไม่อยากให้ลูกลำบากเหมือนแม่
บางครั้งก็เกิดจากความหวังดีนะครับ
เรียนมันก็ดี
แต่การไม่ได้เอาไอ้ที่เรียนมาใช้เสะ…มันเศร้า